แพทย์นักวิจัยต่างชาติแถลง หลังวิจัยนานกว่า 9 ปี ยอมรับ “คีเลชั่น” ปลอดภัย ให้ประโยชน์ ใช้บำ

Document Download

หัวหน้าคณะนักวิจัยในประเทศสหรัฐอเมริกาเปิดเผยผลการวิจัยของสำนักงานสุขภาพแห่งชาติสหรัฐอเมริกาว่า“คีเลชั่นบำบัด” เมื่อให้ร่วมกับการรักษาแบบแผนปัจจุบัน มีความปลอดภัยและมีประโยชน์จริง หลังทำการวิจัยนานกว่า 9 ปี ยืนยันว่าการรักษาโรคหัวใจและหลอดเลือดด้วยคีเลชั่นบำบัดควบคู่กับการรักษาด้วยการแพทย์แผนปัจจุบันให้ผลการรักษาที่ดีกว่าการรักษาด้วยวิธีปกติเพียงอย่างเดียว 

            ศาสตราจารย์ นายแพทย์ เกอวาสิโอ ลามาส ( Gervasio A.Lammas, MD) หัวหน้าแผนกอายุรศาสตร์โรคหัวใจแห่งศูนย์การแพทย์เมาท์ ไซนายมหาวิทยาลัยโคลัมเบีย ในฐานะหัวหน้าคณะนักวิจัย ได้ออกมาเปิดเผยผลการศึกษาครั้งใหญ่ของสำนักงานสุขภาพแห่งชาติ สหรัฐอเมริกา หลังจากเกิดข้อโต้แย้งอย่างกว้างขวางในวงการแพทย์และทำให้การบำบัดรักษาด้วย คีเลชั่นบำบัด ไม่ได้รับการยอมรับในวงการแพทย์ในการรักษาโรคหลอดเลือดหัวใจว่า “คีเลชั่นบำบัด” เมื่อให้ร่วมกับการรักษาแผนปัจจุบัน มีความปลอดภัยจริง มีประโยชน์จริงอีกทั้งยังไม่พบผลข้างเคียงใดๆจากการรักษา ซึ่งการศึกษาดังกล่าวใช้ศูนย์วิจัยจำนวน134 แห่งทั่วประเทศสหรัฐฯและแคนาดาเริ่มต้นทำการศึกษาวิจัยในปี 2003 และใช้เวลานานถึง 9ปี ด้วยงบประมาณสูงถึง 31.6 ล้านเหรียญสหรัฐ โดยคัดเลือกผู้ป่วยที่เคยมีอาการหัวใจกำเริบเฉียบพลันอายุไม่น้อยกว่า 50 ปี และมีสภาพการทำงานของไตเป็นปกติ  โดยผู้ป่วยแต่ละคนจะได้รับ “คีเลชั่นบำบัด” เป็นจำนวน40 ครั้ง รวมทั้งสิ้นมีการทดลองกว่า 50,000 ครั้ง

ผลการศึกษาวิจัยพบว่าผู้ป่วยโรคหลอดเลือดและโรคหัวใจที่ได้รับ “คีเลชั่นบำบัด” ร่วมด้วยมีอัตราการเกิดภาวะหัวใจกำเริบเฉียบพลัน, หลอดเลือดสมองแตกตีบ, การกลับเข้าทำบอลลูน ขดลวดหรือบายพาส, การเสียชีวิตและการกลับเข้ารักษาในโรงพยาบาลเนื่องจากอาการเจ็บหน้าอกลดน้อยลงจริงและจากการศึกษาวิจัยยังพบว่ากลุ่มผู้ป่วยเบาหวานที่ได้รับคีเลชั่นบำบัดได้รับประโยชน์มากขึ้นโดยพบอุบัติการณ์ทางหลอดเลือดและหัวใจ น้อยลงถึง 39%

 

            การเปิดเผยผลการศึกษาครั้งนี้ ถือเป็นจุดเปลี่ยนสำคัญอีกครั้งหนึ่งในวงการแพทย์สหรัฐอเมริกาและในประเทศอื่นๆรวมถึงประเทศไทย และที่จะนำเอาคีเลชั่นบำบัดมาใช้ควบคู่ไปกับการบำบัดรักษาด้วยวิธีปกติระบบประกันสุขภาพทุกกองทุน ควรที่จะรับการรักษาแบบคีเลชั่นบำบัดให้สามารถเบิกจ่ายได้เนื่องจากมีต้นทุนค่าใช้จ่ายในราคาที่ถูกกว่าการบำบัดรักษาโดยวิธีอื่น ๆซึ่งจะทำให้ผู้ป่วยโรคหลอดเลือดหัวใจและสมอง มีโอกาสที่จะมีอายุยืนยาวและมีคุณภาพชีวิตที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน