IV EDTA vs Suppository EDTA
อีดีทีเอจัดเป็นสารเคมีชนิดหนึ่งที่สามารถบริหารเข้าสู่ร่างกายได้หลายช่องทาง ไม่ว่าจะเป็นทางปาก ทางหลอดเลือดดำ หรือแม้แต่ทางทวารหนัก แต่ทว่าปริมาณการดูดซึมของสารดังกล่าวผ่านช่องทางเหล่านี้อาจมีสัดส่วนมากน้อยแตกต่างกันไป หากเปรียบเทียบดูแล้ว การบริหารอีดีทีเอผ่านทางปากจัดเป็นวิธีการที่สะดวกที่สุดแต่ก็ให้ประสิทธิผลน้อยที่สุดเช่นกัน ทั้งนี้เนื่องจากอีดีทีเอจะถูกดูดซึมเพียงแค่ 2-5% เท่านั้นในขณะที่มันจะถูกดูดซึมประมาณ 36.3% ผ่านทางทวารหนัก และ 100% ผ่านทางหลอดเลือดดำ เมื่อเปรียบเทียบในแง่ของตัวเลข แน่นอนว่า การให้อีดีทีเอผ่านทางหลอดเลือดดำน่าจะเป็นวิธีที่มีประสิทธิภาพในการรักษามากที่สุด ซึ่งความคิดแบบนี้ก็ใช่ว่าจะไม่ถูกต้องแต่ก็ต้องไม่ลืมว่าของทุกอย่างในโลกใบนี้จะต้องมีทั้งแง่ที่ดีและไม่ดีปะปนกันไปเสมอ
ถ้าจะดูในด้านที่ดี การให้อีดีทีเอผ่านทางหลอดเลือดดำจัดเป็นวิธีการที่มีประสิทธิภาพดีและให้ผลในการรักษาที่เด่นชัด แต่วิธีการนี้ก็ต้องอาศัยการกระทำโดยแพทย์ผู้เชี่ยวชาญ ต้องมีการแทงเข็มผ่านผิวหนัง ซึ่งอาจจะเป็นวิธีการที่หวาดเสียวอยู่บ้างสำหรับผู้ป่วยบางท่าน นอกจากนี้ การให้อีดีทีเอในปริมาณ 3 กรัม ต้องใช้ระยะเวลานานถึง 3 ชั่วโมง เนื่องจากต้องมีการควบคุมอัตราการให้สารอยู่ที่ 16.6 มิลลิกรัมต่อนาทีเพื่อไม่ให้เกิดอาการแทรกซ้อนที่รุนแรง นอกจากนี้ ในกรณีของผู้ป่วยที่การทำงานของไตบกพร่อง อาจจะไม่สามารถให้อีดีทีเอผ่านช่องทางนี้ได้ วิธีการให้แบบนี้อีดีทีเอจะถูกดูดซึมเร็ว ออกฤทธิ์ทันที และถูกกำจัดออกภายใน 24 ชั่วโมง ส่วนในด้านของการให้อีดีทีเอผ่านทางทวารหนัก หรือที่บางท่านเรียกจนติดปากว่า “ยาเหน็บอีดีทีเอ” นั้นถูกออกแบบมาให้มีการปลดปล่อยสารอีดีทีเอออกมาแบบช้าๆ จึงคงอยู่ในร่างกายได้นานกว่า วิธีการใช้ก็ง่าย ทำได้เองที่บ้าน (ภายใต้คำแนะนำของแพทย์) รวมถึงมีราคาถูกกว่า ถึงแม้ว่าผลในการรักษาอาจจะต้องใช้เวลานานกว่าแบบฉีดก็ตาม นอกจากนี้ยังมีผลการทดลองยืนยันอีกว่า ยาเหน็บอีดีทีเอสามารถดูดซึมผ่านเนื้อเยื่อได้ดี โดยเฉพาะในบริเวณเนื้อเยื่ออ่อนและอวัยวะสืบพันธ์ แพทย์จึงมักจะสั่งจ่ายให้กับผู้ป่วยเพศชายที่มีอาการของโรคต่อมลูกหมากโตหรืออักเสบ ซึ่งผลการรักษาที่ได้ก็เป็นที่น่าพอใจ
คอลัมน์ นานาสาระ : CMAT Guru